วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การวัดและประเมินเด็กปัญญาเลิศ

การวัดและประเมินเด็กปัญญาเลิศ
1. ความหมายของเด็กปัญญาเลิศ
2. ระดับของการวัดและประเมินผล

1.            เด็กปัญญาเลิศ หมายถึง เด็กที่มีความสามารถทางสมองสูง กว่าเด็กทั่วไปเป็นเด็กที่มีระดับสติปัญญาที่วัดได้จากการทดสอบมาตรฐานสูงกว่าค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 2 ขึ้นไป
2.            ระดับของการวัดและประเมินผล
ในการวัดและประเมินผลเด็กที่มีความต้องการพิเศษนั้นมีอยู่ 5 ขั้นดังนี้
@ การขัดแยกและระบุ
@ การวินิจฉัย
@ การกำหนด
@ การวางแผนการสอน
@ การประเมินผล
1.การขัดแยกและระบุ      จุดมุ่งหมายในการดำเนินงานขั้นนี้ คือ การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลงานของเด็กที่จะบ่งชี้ว่าเด็กมีความสามารถสูงในด้านที่โรงเรียนระบุไว้ ข้อมูลนี้จึงรวมถึงผลการสอบที่ครูให้เด็กทุกคนสอบ เช่น แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หรือ แบบทดสอบความถนัด ผลการสอบตามหลักสูตร
       สิ่งสำคัญที่สุดของการคัดแยก ก็คือ การใช้ข้อมูลแหล่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับเด็กที่คิดว่าปัญญาเลิศ ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อาจได้ข้อมูลจากการให้ชื่อของผู้ปกครอง ครู หรือคนอื่นๆ แล้วจึงทดสอบเพิ่มเติม แล้วสังเกตลักษณะต่างๆ ของเด็ก ที่บ่งชี้ว่าเป็นเด็กปัญญาเลิศ
     การใช้แบบทดสอบที่เหมาะสม สิ่งสำคัญในขั้นนี้ คือ ต้องมีความคงที่ของนิยามที่ใช้เรียกเด็กปัญญาเลิศ ตลอดจนกระบวนการที่ใช้ในการขัดแยกเด็ก ในการใช้แบบทดสอบที่เหมาะสม เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง หรือจะใช้แบบตรวจสอบในแต่ละคน เช่น แบบทดสอบสติปัญญาก็ควรให้ใช้แค่เพียงระบุถึงสติปัญญาโดยทั่วไป ถึงแม้แบบทดสอบสติปัญญาจะให้ข้อมูลความสามารถทางการเรียน เพราะว่าเป็นตัวพยากรณ์ที่ดี   


2.  การวินิจฉัย   คำถามที่สำคัญที่สุดที่ต้องตอบในระดับนี้ คือ ผลงานและความสามารถของเด็กอยู่ในชั้นยอดเยี่ยมกว่าคนอื่นมากพอที่จะเข้าโปรมแกรมพิเศษ และเป็นหลักฐานที่ประกันได้ว่า เด็กคนนั้นเป็นเด็กปัญญาเลิศ
        ทางเลือกในการให้บริการ หลังจากครูหรือทีมงานตัดสินใจว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปัญญาเลิศ และสมควรได้รับบริการพิเศษแล้ว ก็ต้องกำหนดว่าจะให้บริการแบบใด
        การจัดอีกแบบก็คือ การสอนเสริม และการสอนรายบุคคลในชั้นเรียนปกติ การให้การศึกษาโดยลำพัง หรือในห้องเฉพาะเด็กเก่ง                          
3.การกำหนดและการพัฒนาโปรแกรมIEP
        การตัดสินใจในระดับนี้ ก็คือ การเลือกเป้าหมายที่เหมาะสมให้กับเด็กพิการ เป้าหมายมักมองเห็นได้ชัดเจน เราต้องช่วยเสริมความบกพร่องให้เด็กพัฒนาไปในระดับตามความคาดหวังแต่ละช่วงอายุ พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ การดึงเด็กเข้ามาสู่มาตรฐาน ก็คือ การทำให้เด็กก้าวไปสู่จุดที่เหนือกว่า ล้ำหน้ากว่าเกณฑ์มาตรฐานปกติ เพราะเขามีความสามารถเหนือกว่าเกณฑ์ปกติ
uจุดมุ่งหมายของโปรแกรม
1.   พัฒนาระดับความเข้าใจ
2.   พัฒนาความสามรถ
3.   พัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
4.   พัฒนาผลงาน
5.   พัฒนาทักษะทางสังคม และความเป็นผู้นำ
6.   พัฒนาความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง      

4. การวางแผนการสอน
      ประเมินผลเด็กแต่ละคนตัดสินจากทักษะเฉพาะด้านที่เด็กได้รับการสอนมาไม่ว่าจะเป็นแบบเดียวหรือแบบกลุ่ม รวมถึงวิธีการที่ใช้ว่าสอดคล้อง กับแบบการเรียนของเด็กหรือไม่เด็กปัญญาเลิศจะพัฒนาการพึ่งพาตนเอง แรงจูงใจและการเป็นอิสระ การใช้แบบสำรวจ หรือสัมภาษณ์ครูที่เคยสอนมา ผู้ปกครองก็เป็นแหล่งข้อมูลที่ดีที่จะบอกให้ทราบถึง ความสนใจและแบบการเรียนรู้ของเด็กได้          

5.  การประเมินผล คือการประเมินความก้าวหน้าอยู่ 2 ประการอยู่สองประการ คือ การหาเครื่องมือที่มีเพดานสูงพอที่จะวัดความก้าวหน้าของเด็กได้ถูกต้องเหมาะสม และ การตัดสินว่าเด็กมีความก้าวหน้าขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ หรือก้าวหน้าไปในระดับที่เหมาะสมแล้ว
         การทดสอบนอกระดับ คือ นำแบบทดสอบนอกระดับมาใช้วัดความก้าวหน้าของเด็กที่เข้าเรียนโปรแกรม และจะต้องใช้แบบทดสอบนี้ตั้งแต่เริ่มเรียนด้วย เพื่อใช้กำหนดเป็นเส้นฐาน
 หรือจุดเริ่มต้น  
           กระบวนการประเมิน ได้แก่ การประเมินผลอย่างเป็นทางการ คือ การใช้แบบทดสอบมาตรฐานแบบอิงกลุ่ม เช่น แบบทดสอบเชาวน์ปัญญา หรือการทดสอบแบบไม่เป็นทางการ เช่น การสัมภาษณ์ การประเมินค่า การตอบคำถาม เป็นต้น 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น