วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ตอนที่2.เด็กบกพร่องทางการเรียนรู้





LD,เด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้ในวัยต่างๆ,การจัดการเรียนการสอน,หลักสูตรสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้,การช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ในชั้นเรียนปกติ

ตอนที่1 เด็กบกพร่องทางการเรียนรู้



LD,ความบกพร่องทางการเรียนรู้,สาเหตุของความบกพร่องทางการเรียนรู้,ลักษณะพบเด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้,ประเภทความบกพร่องทางการเรียนรู้

เด็กพิการกับโอกาสในการศึกษา






ภาพยนตร์สั้นสร้างจากชีวิตจริงของเด็กชายเคราะห์ร้ายคนหนึ่ง

การวัดและประเมินเด็กปัญญาเลิศ

การวัดและประเมินเด็กปัญญาเลิศ
1. ความหมายของเด็กปัญญาเลิศ
2. ระดับของการวัดและประเมินผล

1.            เด็กปัญญาเลิศ หมายถึง เด็กที่มีความสามารถทางสมองสูง กว่าเด็กทั่วไปเป็นเด็กที่มีระดับสติปัญญาที่วัดได้จากการทดสอบมาตรฐานสูงกว่าค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 2 ขึ้นไป
2.            ระดับของการวัดและประเมินผล
ในการวัดและประเมินผลเด็กที่มีความต้องการพิเศษนั้นมีอยู่ 5 ขั้นดังนี้
@ การขัดแยกและระบุ
@ การวินิจฉัย
@ การกำหนด
@ การวางแผนการสอน
@ การประเมินผล
1.การขัดแยกและระบุ      จุดมุ่งหมายในการดำเนินงานขั้นนี้ คือ การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลงานของเด็กที่จะบ่งชี้ว่าเด็กมีความสามารถสูงในด้านที่โรงเรียนระบุไว้ ข้อมูลนี้จึงรวมถึงผลการสอบที่ครูให้เด็กทุกคนสอบ เช่น แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หรือ แบบทดสอบความถนัด ผลการสอบตามหลักสูตร
       สิ่งสำคัญที่สุดของการคัดแยก ก็คือ การใช้ข้อมูลแหล่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับเด็กที่คิดว่าปัญญาเลิศ ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อาจได้ข้อมูลจากการให้ชื่อของผู้ปกครอง ครู หรือคนอื่นๆ แล้วจึงทดสอบเพิ่มเติม แล้วสังเกตลักษณะต่างๆ ของเด็ก ที่บ่งชี้ว่าเป็นเด็กปัญญาเลิศ
     การใช้แบบทดสอบที่เหมาะสม สิ่งสำคัญในขั้นนี้ คือ ต้องมีความคงที่ของนิยามที่ใช้เรียกเด็กปัญญาเลิศ ตลอดจนกระบวนการที่ใช้ในการขัดแยกเด็ก ในการใช้แบบทดสอบที่เหมาะสม เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง หรือจะใช้แบบตรวจสอบในแต่ละคน เช่น แบบทดสอบสติปัญญาก็ควรให้ใช้แค่เพียงระบุถึงสติปัญญาโดยทั่วไป ถึงแม้แบบทดสอบสติปัญญาจะให้ข้อมูลความสามารถทางการเรียน เพราะว่าเป็นตัวพยากรณ์ที่ดี   


2.  การวินิจฉัย   คำถามที่สำคัญที่สุดที่ต้องตอบในระดับนี้ คือ ผลงานและความสามารถของเด็กอยู่ในชั้นยอดเยี่ยมกว่าคนอื่นมากพอที่จะเข้าโปรมแกรมพิเศษ และเป็นหลักฐานที่ประกันได้ว่า เด็กคนนั้นเป็นเด็กปัญญาเลิศ
        ทางเลือกในการให้บริการ หลังจากครูหรือทีมงานตัดสินใจว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปัญญาเลิศ และสมควรได้รับบริการพิเศษแล้ว ก็ต้องกำหนดว่าจะให้บริการแบบใด
        การจัดอีกแบบก็คือ การสอนเสริม และการสอนรายบุคคลในชั้นเรียนปกติ การให้การศึกษาโดยลำพัง หรือในห้องเฉพาะเด็กเก่ง                          
3.การกำหนดและการพัฒนาโปรแกรมIEP
        การตัดสินใจในระดับนี้ ก็คือ การเลือกเป้าหมายที่เหมาะสมให้กับเด็กพิการ เป้าหมายมักมองเห็นได้ชัดเจน เราต้องช่วยเสริมความบกพร่องให้เด็กพัฒนาไปในระดับตามความคาดหวังแต่ละช่วงอายุ พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ การดึงเด็กเข้ามาสู่มาตรฐาน ก็คือ การทำให้เด็กก้าวไปสู่จุดที่เหนือกว่า ล้ำหน้ากว่าเกณฑ์มาตรฐานปกติ เพราะเขามีความสามารถเหนือกว่าเกณฑ์ปกติ
uจุดมุ่งหมายของโปรแกรม
1.   พัฒนาระดับความเข้าใจ
2.   พัฒนาความสามรถ
3.   พัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
4.   พัฒนาผลงาน
5.   พัฒนาทักษะทางสังคม และความเป็นผู้นำ
6.   พัฒนาความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง      

4. การวางแผนการสอน
      ประเมินผลเด็กแต่ละคนตัดสินจากทักษะเฉพาะด้านที่เด็กได้รับการสอนมาไม่ว่าจะเป็นแบบเดียวหรือแบบกลุ่ม รวมถึงวิธีการที่ใช้ว่าสอดคล้อง กับแบบการเรียนของเด็กหรือไม่เด็กปัญญาเลิศจะพัฒนาการพึ่งพาตนเอง แรงจูงใจและการเป็นอิสระ การใช้แบบสำรวจ หรือสัมภาษณ์ครูที่เคยสอนมา ผู้ปกครองก็เป็นแหล่งข้อมูลที่ดีที่จะบอกให้ทราบถึง ความสนใจและแบบการเรียนรู้ของเด็กได้          

5.  การประเมินผล คือการประเมินความก้าวหน้าอยู่ 2 ประการอยู่สองประการ คือ การหาเครื่องมือที่มีเพดานสูงพอที่จะวัดความก้าวหน้าของเด็กได้ถูกต้องเหมาะสม และ การตัดสินว่าเด็กมีความก้าวหน้าขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ หรือก้าวหน้าไปในระดับที่เหมาะสมแล้ว
         การทดสอบนอกระดับ คือ นำแบบทดสอบนอกระดับมาใช้วัดความก้าวหน้าของเด็กที่เข้าเรียนโปรแกรม และจะต้องใช้แบบทดสอบนี้ตั้งแต่เริ่มเรียนด้วย เพื่อใช้กำหนดเป็นเส้นฐาน
 หรือจุดเริ่มต้น  
           กระบวนการประเมิน ได้แก่ การประเมินผลอย่างเป็นทางการ คือ การใช้แบบทดสอบมาตรฐานแบบอิงกลุ่ม เช่น แบบทดสอบเชาวน์ปัญญา หรือการทดสอบแบบไม่เป็นทางการ เช่น การสัมภาษณ์ การประเมินค่า การตอบคำถาม เป็นต้น 

กลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์ (Asperger Syndrome)

กลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์ (Asperger Syndrome)
              กลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์ (Asperger Syndrome) คือ กลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติทางการทำงานของระบบประสาท ที่จัดอยู่ในกลุ่มของโรคกลุ่มออทิสติค (Autistic spectrum disorders) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการของโรคที่มีปัญหาทางด้านพฤติกรรม และพัฒนาการทางด้านการพูด เช่น โรคออติสติค (Autism) และพฤติกรรมแปลกอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายออทิสติค
              เหตุที่จัดเป็นกลุ่มอาการของโรค เนื่องจากอาการของผู้ป่วยแต่ละคน จะมีความแตกต่างกันได้หลากหลาย ทั้งทางด้านรูปแบบของอาการแสดง และความรุนแรงของปัญหา แม้ผู้ป่วยสองคนจะมีการวินิจฉัยโรคเหมือนกัน แต่จะพบว่า อาการแสดงและความสามารถทางด้านทักษะของแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันได้ค่อนข้างมาก ดังนั้นจึงมักแบ่งอาการเหล่านี้ ออกตามความสามารถ และทักษะของผู้ป่วย เช่น
                 -Low-functioning คือ กลุ่มที่มีความสามารถในการพูด การใช้ภาษาและการปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นๆได้น้อย)
-High-functioning  คือ กลุ่มที่สามารถพูด ใช้ภาษาและปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นๆได้ดี
-Autistic tendencies คือ กลุ่มที่มีอาการคล้ายออทิสติค                                                                                      
-Pervasive developmental disorder คือ กลุ่มที่มีปัญหาทางด้านพัฒนาการผิดปกติ ทำอะไรซ้ำๆ ย้ำคิดย้ำทำ เพื่อใช้เรียกผู้ป่วยที่มีอาการแสดงของออทิสติค ที่มีความสามารถและทักษะต่างๆกัน ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการอยู่ในกลุ่มแอสเพอร์เกอร์นี้ มักจะมีความสามารถและทักษะต่างๆ ค่อนข้างดี เหมือนกับกลุ่มที่จัดเป็น high-functioning autism
     ในสหรัฐอเมริกา คาดว่าจะมีถึง 400,000 ครอบครัว ที่มีคนในครอบครัวคนใดคนหนึ่ง ที่เป็นกลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์ และเนื่องจากการที่มีการกล่าวถึงโรคเหล่านี้กันมากขึ้น ทำให้มีการวินิจฉัยโรคเหล่านี้ได้เพิ่มขึ้น


                แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เนื่องจากยังไม่มีการตรวจวินิจฉัยวิธีใดที่จำเพาะสำหรับโรคนี้ การวินิจฉัยส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้การประเมินด้านทักษะ และการพัฒนาการของเด็กในด้านต่างๆ ประกอบกับพฤติกรรมของเด็ก จึงทำให้โรคนี้มีความยากลำบากในการให้การวินิจฉัยและการรักษา
กลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์คืออะไร ?
                เมื่อปี ค. ศ. 1940 หรือประมาณ 60 ปีก่อน มีการรายงานถึงกลุ่มอาการผิดปกติทางด้านพฤติกรรม และพัฒนาการของเด็ก โดยคุณหมอ ฮานส์ แอสเพอร์เกอร์ (Hans Asperger) ที่พบลักษณะของกลุ่มอาการเหล่านี้ ในคนไข้ของเขา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กผู้ชายที่มีความเฉลียวฉลาด และสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติ แม้แต่การพัฒนาการด้านการใช้ภาษา ก็ดูเป็นปกติ แต่เด็กเหล่านี้มีปัญหาค่อนข้างมาก ในด้านทักษะการเข้าสังคม โดยเฉพาะการสื่อสารกับผู้อื่นให้เข้าใจ และการปฏิบัติตนร่วมกับคนอื่นๆ
              อาการแสดงของแอสเพอร์เกอร์ มักจะเริ่มแสดงออกมาในช่วงเด็กอายุประมาณ 3 ขวบ และส่วนใหญ่ กว่าจะมีอาการต่างๆให้เห็นชัดเจนวินิจฉัยได้ ก็มักจะเป็นในช่วงอายุประมาณ 5-9 ปี
              อาการแสดงที่เป็นลักษณะของแอสเพอร์เกอร์  คือ การที่มีปัญหาในการเข้าสังคมกับคนอื่นๆ ไม่ค่อยมีปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น มีความหมกมุ่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เหมือนเป็นแบบย้ำคิดย้ำทำ มีลักษณะการพูดที่แปลกๆ รวมทั้งพฤติกรรมบางอย่างที่แปลกไปจากธรรมดา เด็กเหล่านี้มักจะไม่ค่อยมีสีหน้าที่แสดงอารมณ์ต่างๆ เท่าไรนัก และมักจะมีปัญหาในการอ่านใจ และภาษาท่าทางของคนอื่นๆ ที่ตนเองสนทนาด้วย
 มักจะชอบทำอะไรซ้ำๆ หรือมีรายละเอียดในการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันที่เหมือนๆ เดิมเสมอ และบางรายจะมีความไวต่อสิ่งเร้า ที่มาจากภายนอกค่อนข้างมากกว่าคนทั่วไป เช่น อาจจะรู้สึกรำคาญหงุดหงิดกับแสงไฟเล็กๆ บนเพดาน ในขณะที่คนอื่นๆ แทบจะไม่ได้สังเกตว่า ไฟดวงนั้นได้ถูกเปิดทิ้งไว้ หรืออาจจะชอบที่จะสวมใส่เสื้อผ้าบางชนิดซ้ำๆ กัน โดยไม่ยอมใช้เสื้อผ้าประเภทอื่นเลย
                โดยทั่วไปเด็กที่มีปัญหาในกลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์นี้ ส่วนใหญ่จะสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ แต่อาจจะมีปัญหาบ้าง เมื่อต้องมีปฎิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ โดยอาจมีพฤติกรรมการแสดงออก ที่ไม่สมกับวัย ดูเด็กกว่าวัย (socially immature) หรือมีลักษณะแปลกๆ ต่างจากเด็กคนอื่นๆ


              ลักษณะอื่นๆ ที่อาจพบได้ในแอสเพอร์เกอร์ คือ การพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว และกล้ามเนื้อ ค่อนข้างช้า หรือไม่คล่องตัวเหมือนเด็กทั่วไป ดูเหมือนงุ่มง่ามกว่า ไม่ค่อยสนใจสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นรอบตัว และอาจจะหมกมุ่นอยู่กับเรื่องบางเรื่องอย่างมาก เช่น อาจสนใจ หรือพูดแต่เรื่องไดโนเสาร์อย่างเดียวตลอดเวลา หมกมุ่นมากเกินกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
               เมื่อเด็กเหล่านี้โตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ก็ยังจะมีปัญหาในการเข้าสังคมกับผู้อื่น เช่น อาจจะไม่ค่อยสนใจในความรู้สึกของผู้อื่น ไม่ค่อยมีความเห็นอกเห็นใจ หรือมีอารมณ์ร่วมกับคนอื่นๆ ทำให้มีปัญหาในการปฎิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และคนรอบข้าง พบว่าปัญหาเหล่านี้ จะยังคงอยู่ไปตลอด แม้ว่าจะมีอายุมากขึ้น และมีวุฒิภาวะมากขึ้น ตามวัยแล้วก็ตาม แต่อาการแสดงต่างๆ อาจจะมีมาก หรือน้อยเป็นช่วงๆได้

อาการและอาการแสดงของกลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์ ที่พบในเด็กที่พบได้บ่อย มีดังนี้คือ
1.การมีปฎิสัมพันธ์โต้ตอบกับคนอื่นๆ อย่างไม่เหมาะสมกับวัย หรือไม่ชอบที่จะเข้าสังคมกับคนอื่นๆ
2.เรื่องที่พูดคุย มักจะเกี่ยวกับเรื่องของตนเอง มากกว่าเรื่องอื่นๆ
3.มักชอบพูดซ้ำๆ เรื่องเดิมๆ ด้วยคำพูดเหมือนเดิม
4.มักจะไม่ค่อยมีปฎิพานไหวพริบ ในเรื่องธรรมดาทั่วๆไป (lack of common sense)
5.มักมีปัญหาในการใช้ทักษะทางด้าน การอ่าน, คณิตศาสตร์ และการเขียน
6.มักจะสนใจหมกมุ่นกับเรื่องบางเรื่อง หรือสิ่งที่ค่อนข้างมีความซับซ้อน เช่น ลวดลายแพทเทิน, วงจรไฟฟ้า หรือดนตรีคลาสสิค
7.การพูดและทักษะในการใช้ภาษาพูด อยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือดีกว่าเกณฑ์ กล่าวคือ เด็กจะรู้คำศัพท์ต่างๆได้มาก และพูดได้ถูกหลักไวยากรณ์ แต่ในแง่ของเนื้อหา และการสื่อความหมายในเรื่องที่เขาพูดนั้น อาจไม่เหมือนเด็กปกติ
8.ทักษะทางด้านอื่นๆ ที่ไม่ได้ใช้ภาษาพูดจะอยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือต่ำกว่าเกณฑ์
9.มีการเดิน หรือการเคลื่อนไหวของร่างกายที่ดูงุ่มง่าม หรือไม่คล่องตัว
10.มีพฤติกรรมแปลกๆ หรือดูไม่ค่อยมีมารยาท เมื่อเข้าสังคม
                เด็กที่เป็นแอสเพอร์เกอร์นั้น จะแตกต่างจากเด็กที่เป็นออทิสซึ่ม เพราะเด็กแอสเพอร์เกอร์ในช่วงแรก มักจะมีการพัฒนาด้านภาษาได้ตามเกณฑ์อายุ มีความสามารถในการใช้รูปประโยค และคำศัพท์ต่างๆ ในการพูดได้ค่อนข้างดีเป็นปกติ แต่เมื่ออายุมากขึ้น จะเริ่มมีปัญหาในการใช้ภาษา เมื่อเข้าสู่สังคม และต้องพูดคุยโต้ตอบกับคนอื่นๆ โดยทั่วไปเด็กเหล่านี้ มักจะสติปัญญาดี มีความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในเรื่องต่างๆ ที่ต้องทำในชีวิตประจำวัน เช่น การใช้ช้อนทานข้าวเอง และการแต่งตัวใส่เสื้อผ้า ได้เหมือนเด็กปกติ บางคนอาจมีปัญหาเรื่องสมาธิ ที่ไม่สามารถมีสมาธิ กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นานนัก หรือมีปัญหาในการจัดลำดับเรื่องต่างๆ ในการจัดการอะไรบางอย่าง และมีทักษะในบางเรื่อง ที่อาจจะดูดีกว่าเด็กอื่น แต่สำหรับทักษะบางด้านอาจจะด้อยกว่า แต่โดยรวมแล้วเด็กเหล่านี้จะมีระดับสติปัญญาที่เป็นปกติ หรืออาจจะดีกว่าปกติด้วยซ้ำ

อะไรเป็นสาเหตุของการเกิดกลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์ ?
              ในปัจจุบันยังไม่ทราบว่า อะไรเป็นสาเหตุของกลุ่มอาการออทิสติค และกลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์ ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า น่าจะมีหลายปัจจัยร่วมกัน ทั้งพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม แต่ก็ยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัด อาจพบร่วมกับโรคทางจิตประสาทอื่นๆ ด้วย เช่น โรคซึมเศร้า หรือ โรคจิตบางประเภท เนื่องจากเด็กเหล่านี้ อาจมีพฤติกรรมที่แปลกๆ บางครั้งดูหยาบคาย ไม่เหมาะสม ทำให้เคยมีการเข้าใจผิดว่า ปัญหาเหล่านี้เกิดจากการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้องเช่น การขาดความรักความอบอุ่นในครอบครัว หรือขาดการอบรมสั่งสอนที่ถูกต้องจากพ่อแม่
               แต่จากการศึกษาดูครอบครัวของเด็กเหล่านี้กลับพบว่า ส่วนใหญ่ได้รับความรักเอาใจใส่ จากพ่อแม่เป็นอย่างดี และมีการเลี้ยงดูที่ถูกต้องเหมาะสม ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่มาจากการเลี้ยงดูที่ผิดของพ่อแม่ แต่เป็นจากปัญหาด้านการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
              ในปัจจุบันยังไม่มียาใดที่จะใช้รักษาอาการเหล่านี้ ให้หายเป็นปกติ แต่พบว่า เด็กเหล่านี้ส่วนใหญ่เมื่อได้รับการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง และให้ความรู้ความเข้าใจ และ คำแนะนำแก่พ่อแม่รวมทั้งทางโรงเรียนในการปรับตัว และปรับพฤติกรรมของเด็ก ก็สามารถช่วยให้เด็กเหล่านี้ อยู่ร่วมในสังคมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และประสบความสำเร็จในชีวิตได้ดีพอควร
โดยความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านปัญหาพัฒนาการเด็ก ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า การให้ความช่วยเหลือเด็กเหล่านี้ ตั้งแต่ช่วงแรกๆ ที่พบว่า มีปัญหา (Early intervention) จะมีผลทำให้เด็กสามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมได้ง่ายขึ้น เพราะยังเป็นช่วงที่สมองของเด็ก ยังมีการพัฒนาได้ค่อนข้างมาก


บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

คำจำกัดความ   บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน  ซึ่งอาจจะเป็นคนหูหนวกหรือหูตึงก็ได้
            หูหนวก  หมายถึง  บุคคลที่สูญเสียการได้ยิน 90 เดซิเบล ขึ้นไป วัดด้วยเสียงบริสุทธิ์ ณ ความถี่ 100 1000 และ 2000 เฮิร์ท ในหูข้างใดข้างดีกว่า ไม่สามารถใช้การได้ยินให้เป็นประโยชน์เต็มประสิทธิภาพในการฟัง อาจเป็นผู้ที่สูญเสียการได้ยินมาแต่กำเนิดหรือสูญเสียการได้ยินในภายหลัง
หูตึง  หมายถึง  บุคคลที่สูญเสียการได้ยินระหว่าง 26 89  เดซิเบล วัดโดยใช้เสียงบริสุทธิ์ ความถี่ 500 1000 และ 2000 เฮิร์ท ในหูข้างใดข้างดีกว่า  ไม่สามารถใช้การได้ยินให้เป็นประโยชน์ เต็มประสิทธิภาพในการฟังอาจเป็นผู้ที่สูญเสียการได้ยินเล็กน้อยไปจนถึงสูญเสียการได้ยินรุนแรง

สัญญาณเตือนภัยว่ามีความผิดปกติเกี่ยวกับหู
-                   อาการปวด เจ็บ คัน รวมทั้งอาการหนักๆ ในหู
-                   มีของเหลวไหบออกจากช่องหู อาจจจะมีลักษณะใสๆ ข้นๆ เหนียวหรือแดงเป็นเลือดผิดปกติ
-                   หูอื้อ ฟังเสียงไม่ชัด มีเสียงรบกวนในหู
-                   เสียงพูดผิดปกติ เช่น พูดดังหรือเบาเกินไป
-                   ใบหู ช่องหู มีลักษณะผิดปกติ
-                   ใบหน้ากระตุก เป็นอัมพาต ปากเบี้ยว ตาปิดไม่สนิท

สาเหตุและการป้องกัน
1.            ก่อนคลอด อาจเป็นความผิดปกติของโครโมโซม หรือความผิดปกติของระบบทางดูดซึม มารดาป่วยเป็นโรคหัดเยอรมัน มารดาติดยาหรือ สิ่งเสพติ
2.            ระหว่างคลอด อาจรวมไปถึงการขาดออกซิเจน สมองได้รับบาดเจ็บระหว่างคลอด เด็กที่ความบกพร่องขั้นรุนแรงมักสังเกตเห็นได้ชัดตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งเกิดได้ง่ายกว่าเด็กที่มีความบกพร่องในขั้น น้อยกว่า หรือมีความบกพร่องปานกลาง
3.            หลังคลอด อาจรวมไปถึงอุบัติเหตุ การ ได้รับสารพิษ การได้รับเสียงดังเกินปกติ
4.            สิ่งแวดล้อม

ประเภทของการสูญเสียการได้ยิน
การสูญเสียการได้ยินโดยคำนึงถึงตำแหน่งที่เกิดความผิดปกติของกลไกการได้ยิน    อาจจำแนกได้เป็น 5 ประเภทดังนี้
1. การนำเสียงเสีย ( Conductive hearing loss ) เป็นการ สูญเสียการได้ยินที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของหูชั้นนอกและหูชั้นกลางซึ่งเป็นส่วนของการนำเสียง
2. ประสาทหูเสีย ( Sensorineural hearing loss ) เกิดจากความผิดปกติที่หูชั้นในหรือประสาทหู
3. ผสม ( Mixed hearing loss ) การสูญเสียการได้ยินประเภทนี้ เกิดจากการที่หูชั้นนอกหรือหูชั้นกลางมีความ ผิดปกติร่วมกับหูชั้นในหรือประสาทหู
4. การแปลเสียง ( Central hearing loss ) เกิดจากการที่สมองซึ่งทำหน้าที่รับและแปรความหมายของเสียง ซึ่งอาจเกิดจากเนื้องอกในสมองสมองอักเสบเส้นเลือดในสมองแตก ทำให้ศูนย์การรับฟังเสียงใช้การไม่ได้ จึงทำให้ไม่เข้าใจ ความหมายของเสียง ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด แต่การสูญเสีย การได้ยินประเภทนี้อาจดีขึ้นหรือไม่ดีขึ้นก็ได้
5. จิตใจผิดปกติ ( Functional or Phychological hearing loss ) ความผิดปกติจากจิตใจหรืออารมณ์ ทำให้ไม่มีการตอบสนองต่อเสียง แสดงอาการเหมือนคนหูหนวก หูตึง ทั้งที่กลไกการได้ยินปกติ ต้องให้จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยารักษา

ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
1.
การพูด มีปัญหาในการพูดเด็กอาจพูดไม่ได้ พูดไม่ชัด
2.
ภาษา มีปัญหาทางภาษา เช่น มีความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ในวงจำกัด เรียงคำศัพท์ผิดภาษา
3.
ความสามารถทางสติปัญญา
4.
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
5.
การปรับตัว

ข้อสังเกตของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
1.
เวลาฟังมักจะมองปากของผู้พูดหรือจ้องหน้าของผู้พูด
2.
เมื่อพูดเสียงแปลกเปล่งเสียงสูง
3.
เปล่งเสียงพูดหรือเสียงต่ำเกินความจำเป็น
4.
มีอาการพูดผิดปกติ
5.
ไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้
6.
ไม่พูดเมื่อมีสิ่งเร้าใจจากสภาพแวดล้อม
7.
มักตะแคงหูฟังและให้ความสนใจต่อการสั่นสะเทือน
8.
ไม่มีปฏิกิริยาต่อเสียงดัง เสียงพูด เสียงดนตรี

วิธีสอนภาษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
            การฝึกการได้ยิน  คือ  การฝึกให้ใช้การได้ยินที่เหลืออยู่ในการรับรู้เสียง ทิศทาง ความหมายของเสียงพูด เพื่อเรียนรู้และพัฒนาทักษะในการติดต่อสื่อสาร
            การฝึกพูด  คือ  การฝึกให้เด็กพัฒนาภาษาที่เป็นธรรมชาติที่เรียนรู้จากประสบการณ์ มีความหมายเพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพ เพื่อติดต่อกับคนปกติ ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้การได้ยินที่เหลืออยู่ร่วมกับการใช้เครื่องช่วยฟัง โดยการฝึกทักษะที่เกี่ยวข้องคือ การฟัง
            การอ่านคำพูด  จะต้องฝึกและเรียนรู้ตั้งแต่คำแรกที่เรียนภาษา
            การใช้ท่าทาง  คือ  ท่าทางที่เกิดขึ้นมาตามธรรมชาติซึ่งต้องใช้สาายตาในการรับภาษาโดยไม่ต้องใช้เสียงนับเป็นพื้นฐานความเข้าใจ ภาษามือ
            การสะกดนิ้วมือ  คือ  การที่บุคคลทำท่าทางเป็นรูปต่างๆ แทนตัวพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และสัญลักษณ์อื่นๆ ของภาษาประจำเพื่อสื่อภาษา โดยทั่วไปตัวอักษรที่สะกดนิ้วมือของภาษาใดจะมีจำนวนเท่ากับตัวอักษรของภาษานั้น

เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการ ได้ยิน  
เครื่องช่วยฟังมี 2 ระบบ คือ ระบบอนาล็อก กับ ระบบดิจิตอล
1. ระบบอนาล็อก จะขยายเสียงโดยการเพิ่มระดับความดังเพียงอย่างเดียว ตัดเสียงทุ้ม เสียงแหลมได้บ้างเล็กน้อย ไม่สามารถปรับให้เหมาะกับระดับการได้ยินของแต่ละคนได้ (เนื่องจาก ระดับการได้ยินที่ใช้รับฟังเสียงมีตั้งแต่ 125 Hz ขึ้นไป ถึง 8000 Hz และแต่ละความถี่มีระดับการสูญเสียไม่เท่ากัน) ดังนั้น จะพบว่า เมื่อใช้เครื่องระบบอนาล็อก เสียงบางเสียงฟังแล้วดังพอดี บางเสียงจะดังเกินไปจนเกิดความรำคาญ
 2. ระบบดิจิตอล เครื่องช่วยฟังจะรับคลื่นเสียง แปลเป็นสัญญาณดิจิตอล นำไปปรับระดับในแต่ละช่วงความถี่ให้เหมาะสมกับระดับการได้ยินที่สูญเสีย แล้วจึงแปลจากสัญญาณดิจิตอล เป็นคลื่นเสียงให้ผู้ใช้ได้ยินอย่างนุ่มนวล ฟังชัดเจน

ประเภทของเครื่องช่วยฟังมี 4 ประเภทหลักๆ ดังนี้
            1. เครื่องช่วยฟังประเภทกล่อง (Body หรือ Pocket Aid) มีขนาดใกล้เคียงกับกล่องไม้ขีด ต่อสายหูฟัง สำหรับผู้สูญเสียการได้ยินระดับปานกลาง ถึง รุนแรงมาก
2. เครื่องช่วยฟังประเภททัดหลังหู (BTE) มีขนาดเล็กพอจะซ่อนไว้หลังใบหูได้ ไม่มีสายหูฟัง แต่จะมีท่อนำเสียงต่อกับพิมพ์หู สำหรับผู้สูญเสียการได้ยินระดับ ปานกลาง ถึง มาก
3. เครื่องช่วยฟังประเภทใส่ในช่องหู (ITE/ITC) มีขนาดเล็กใส่ในช่องหูได้ สำหรับผู้สูญเสียการได้ยินระดับ เล็กน้อย ถึง มาก
4. เครื่องช่วยฟังประเภทซ่อนในช่องหู (CIC) มีขนาดเล็กกว่าเหรียญบาท ซ่อนในช่องหู ทำให้ยากที่จะเห็นว่า ผู้ใช้ใส่เครื่องช่วยฟังอยู่ สำหรับผู้สูญเสียการได้ยินระดับ เล็กน้อย ถึง ปานกลาง
สรุปวิธีการสอน
ไม่ว่าจะสอนโดยวิธีใดหรือจัดการศึกษาระบบใดก็ตาม ความสมบูรณ์และความถูกต้องไม่ได้อยู่ที่ระบบ แต่หากอยู่ที่การเลือกใช้วิธีการสอนให้เหมาะสมกับความพิการของเด็กแต่ละประเภทว่าเด็กหูหนวกขนาดไหน ควรใช้วิธีสอนประเภทใด จึงจะให้ประโยชน์แก่เด็กมากที่สุด ซึ่งนับเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ทฤษฎีการให้การศึกษาที่ดีนั้นจะต้องยึดหลักว่า "จัดระบบให้เหมาะสมกับเด็ก ไม่ใช่ยัดเยียดหรือบังคับเด็กให้เรียนตามระบบที่จัดให้เท่านั้น"

บุคคลพิการ 9 ประเภท

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา
.. ๒๕๕๒
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ และมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.. ๒๕๕๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงออกประกาศกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่าประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดประเภทและ
หลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.. ๒๕๕๒
ข้อ ๒ ประเภทของคนพิการ มีดังต่อไปนี้
() บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น
() บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
() บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
() บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ
() บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
() บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
() บุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรม หรืออารมณ์
() บุคคลออทิสติก
() บุคคลพิการซ้อน
ข้อ ๓ การพิจารณาบุคคลที่มีความบกพร่องเพื่อจัดประเภทของคนพิการ ให้มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
() บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น ได้แก่ บุคคลที่สูญเสียการเห็นตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงตาบอดสนิท ซึ่งแบ่งเป็น ๒ ประเภทดังนี้
(.) คนตาบอด หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการเห็นมาก จนต้องใช้สื่อสัมผัสและสื่อเสียงหากตรวจวัดความชัดของสายตาข้างดีเมื่อแก้ไขแล้ว อยู่ในระดับ ๖ ส่วน ๖๐ (/๖๐) หรือ ๒๐ ส่วน ๒๐๐(๒๐/๒๐๐) จนถึงไม่สามารถรับรู้เรื่องแสง
 (.) คนเห็นเลือนราง หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการเห็น แต่ยังสามารถอ่านอักษร
ตัวพิมพ์ขยายใหญ่ด้วยอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ หรือเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก หากวัดความชัดเจนของสายตาข้างดีเมื่อแก้ไขแล้วอยู่ในระดับ ๖ ส่วน ๑๘ (/๑๘) หรือ ๒๐ ส่วน ๗๐(๒๐/๗๐)
() บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ได้แก่ บุคคลที่สูญเสียการได้ยินตั้งแต่ระดับหูตึงน้อยจนถึงหูหนวก ซึ่งแบ่งเป็น ๒ ประเภท ดังนี้
(.) คนหูหนวก หมายถึง บุคคลที่สูญเสียการได้ยินมากจนไม่สามารถเข้าใจการพูด
ผ่านทางการได้ยินไม่ว่าจะใส่หรือไม่ใส่เครื่องช่วยฟัง ซึ่งโดยทั่วไปหากตรวจการได้ยินจะมีการสูญเสียการได้ยิน ๙๐ เดซิเบลขึ้นไป
(.) คนหูตึง หมายถึง บุคคลที่มีการได้ยินเหลืออยู่เพียงพอที่จะได้ยินการพูด
ผ่านทางการได้ยิน โดยทั่วไปจะใส่เครื่องช่วยฟัง ซึ่งหากตรวจวัดการได้ยินจะมีการสูญเสียการได้ยินน้อยกว่า ๙๐ เดซิเบลลงมาถึง ๒๖ เดซิเบล
() บุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ได้แก่ บุคคลที่มีความจำกัดอย่างชัดเจนในการปฏิบัติตน (Functioning) ในปัจจุบัน ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ คือ ความสามารถทางสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ เฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญร่วมกับความจำกัดของทักษะการปรับตัวอีกอย่างน้อย ๒ ทักษะจาก ๑๐ ทักษะได้แก่ การสื่อความหมาย การดูแลตนเอง การดำรงชีวิตภายในบ้านทักษะทางสังคม/การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การรู้จักใช้ทรัพยากรในชุมชน การรู้จักดูแลควบคุมตนเอง การนำ ความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน การทำงาน การใช้เวลาว่าง การรักษาสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย ทั้งนี้ได้แสดงอาการดังกล่าวก่อนอายุ ๑๘ ปี
() บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ ซึ่งแบ่งเป็น๒ ประเภท ดังนี้
(.) บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว ได้แก่ บุคคลที่มี
อวัยวะไม่สมส่วนหรือขาดหายไป กระดูกหรือกล้ามเนื้อผิดปกติ มีอุปสรรคในการเคลื่อนไหว
ความบกพร่องดังกล่าวอาจเกิดจากโรคทางระบบประสาท โรคของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกการไม่สมประกอบ มาแต่กำเนิด อุบัติเหตุและโรคติดต่อ
(.) บุคคลที่มีความบกพร่องทางสุขภาพ ได้แก่ บุคคลที่มีความเจ็บป่วยเรื้อรังหรือ
มีโรคประจำตัวซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ซึ่งมีผลทำให้เกิดความจำเป็นต้องได้รับการศึกษาพิเศษ
 () บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ได้แก่ บุคคลที่มีความผิดปกติในการทำงานของสมองบางส่วนที่แสดงถึงความบกพร่องในกระบวนการเรียนรู้ที่อาจเกิดขึ้นเฉพาะความสามารถด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน คือ การอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ ซึ่งไม่สามารถเรียนรู้ในด้านที่บกพร่องได้ ทั้งที่มีระดับสติปัญญาปกติ
() บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา ได้แก่ บุคคลที่มีความบกพร่องในการ
เปล่งเสียงพูด เช่น เสียงผิดปกติ อัตราความเร็วและจังหวะการพูดผิดปกติ หรือบุคคลที่มี
ความบกพร่อง ในเรื่องความเข้าใจหรือการใช้ภาษาพูด การเขียนหรือระบบสัญลักษณ์อื่นที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งอาจเกี่ยวกับรูปแบบ เนื้อหาและหน้าที่ของภาษา
() บุคคลที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม หรืออารมณ์ ได้แก่ บุคคลที่มีพฤติกรรม
เบี่ยงเบนไปจากปกติเป็นอย่างมาก และปัญหาทางพฤติกรรมนั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจาก            ความบกพร่องหรือความผิดปกติทางจิตใจหรือสมองในส่วนของการรับรู้ อารมณ์หรือความคิดเช่น โรคจิตเภท โรคซึมเศร้า โรคสมองเสื่อม เป็นต้น
() บุคคลออทิสติก ได้แก่ บุคคลที่มีความผิดปกติของระบบการทำงานของสมองบางส่วนซึ่งส่งผลต่อความบกพร่องทางพัฒนาการด้านภาษา ด้านสังคมและการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และมีข้อจำกัดด้านพฤติกรรม หรือมีความสนใจจำกัดเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยความผิดปกตินั้นค้นพบได้ก่อนอายุ ๓๐ เดือน
() บุคคลพิการซ้อน ได้แก่ บุคคลที่มีสภาพความบกพร่องหรือความพิการมากกว่า
หนึ่งประเภทในบุคคลเดียวกัน

ประกาศ ณ วันที่ ๖ พฤษภาคม พ.. ๒๕๕๒
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ__