วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

คำจำกัดความ   บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน  ซึ่งอาจจะเป็นคนหูหนวกหรือหูตึงก็ได้
            หูหนวก  หมายถึง  บุคคลที่สูญเสียการได้ยิน 90 เดซิเบล ขึ้นไป วัดด้วยเสียงบริสุทธิ์ ณ ความถี่ 100 1000 และ 2000 เฮิร์ท ในหูข้างใดข้างดีกว่า ไม่สามารถใช้การได้ยินให้เป็นประโยชน์เต็มประสิทธิภาพในการฟัง อาจเป็นผู้ที่สูญเสียการได้ยินมาแต่กำเนิดหรือสูญเสียการได้ยินในภายหลัง
หูตึง  หมายถึง  บุคคลที่สูญเสียการได้ยินระหว่าง 26 89  เดซิเบล วัดโดยใช้เสียงบริสุทธิ์ ความถี่ 500 1000 และ 2000 เฮิร์ท ในหูข้างใดข้างดีกว่า  ไม่สามารถใช้การได้ยินให้เป็นประโยชน์ เต็มประสิทธิภาพในการฟังอาจเป็นผู้ที่สูญเสียการได้ยินเล็กน้อยไปจนถึงสูญเสียการได้ยินรุนแรง

สัญญาณเตือนภัยว่ามีความผิดปกติเกี่ยวกับหู
-                   อาการปวด เจ็บ คัน รวมทั้งอาการหนักๆ ในหู
-                   มีของเหลวไหบออกจากช่องหู อาจจจะมีลักษณะใสๆ ข้นๆ เหนียวหรือแดงเป็นเลือดผิดปกติ
-                   หูอื้อ ฟังเสียงไม่ชัด มีเสียงรบกวนในหู
-                   เสียงพูดผิดปกติ เช่น พูดดังหรือเบาเกินไป
-                   ใบหู ช่องหู มีลักษณะผิดปกติ
-                   ใบหน้ากระตุก เป็นอัมพาต ปากเบี้ยว ตาปิดไม่สนิท

สาเหตุและการป้องกัน
1.            ก่อนคลอด อาจเป็นความผิดปกติของโครโมโซม หรือความผิดปกติของระบบทางดูดซึม มารดาป่วยเป็นโรคหัดเยอรมัน มารดาติดยาหรือ สิ่งเสพติ
2.            ระหว่างคลอด อาจรวมไปถึงการขาดออกซิเจน สมองได้รับบาดเจ็บระหว่างคลอด เด็กที่ความบกพร่องขั้นรุนแรงมักสังเกตเห็นได้ชัดตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งเกิดได้ง่ายกว่าเด็กที่มีความบกพร่องในขั้น น้อยกว่า หรือมีความบกพร่องปานกลาง
3.            หลังคลอด อาจรวมไปถึงอุบัติเหตุ การ ได้รับสารพิษ การได้รับเสียงดังเกินปกติ
4.            สิ่งแวดล้อม

ประเภทของการสูญเสียการได้ยิน
การสูญเสียการได้ยินโดยคำนึงถึงตำแหน่งที่เกิดความผิดปกติของกลไกการได้ยิน    อาจจำแนกได้เป็น 5 ประเภทดังนี้
1. การนำเสียงเสีย ( Conductive hearing loss ) เป็นการ สูญเสียการได้ยินที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของหูชั้นนอกและหูชั้นกลางซึ่งเป็นส่วนของการนำเสียง
2. ประสาทหูเสีย ( Sensorineural hearing loss ) เกิดจากความผิดปกติที่หูชั้นในหรือประสาทหู
3. ผสม ( Mixed hearing loss ) การสูญเสียการได้ยินประเภทนี้ เกิดจากการที่หูชั้นนอกหรือหูชั้นกลางมีความ ผิดปกติร่วมกับหูชั้นในหรือประสาทหู
4. การแปลเสียง ( Central hearing loss ) เกิดจากการที่สมองซึ่งทำหน้าที่รับและแปรความหมายของเสียง ซึ่งอาจเกิดจากเนื้องอกในสมองสมองอักเสบเส้นเลือดในสมองแตก ทำให้ศูนย์การรับฟังเสียงใช้การไม่ได้ จึงทำให้ไม่เข้าใจ ความหมายของเสียง ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด แต่การสูญเสีย การได้ยินประเภทนี้อาจดีขึ้นหรือไม่ดีขึ้นก็ได้
5. จิตใจผิดปกติ ( Functional or Phychological hearing loss ) ความผิดปกติจากจิตใจหรืออารมณ์ ทำให้ไม่มีการตอบสนองต่อเสียง แสดงอาการเหมือนคนหูหนวก หูตึง ทั้งที่กลไกการได้ยินปกติ ต้องให้จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยารักษา

ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
1.
การพูด มีปัญหาในการพูดเด็กอาจพูดไม่ได้ พูดไม่ชัด
2.
ภาษา มีปัญหาทางภาษา เช่น มีความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ในวงจำกัด เรียงคำศัพท์ผิดภาษา
3.
ความสามารถทางสติปัญญา
4.
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
5.
การปรับตัว

ข้อสังเกตของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
1.
เวลาฟังมักจะมองปากของผู้พูดหรือจ้องหน้าของผู้พูด
2.
เมื่อพูดเสียงแปลกเปล่งเสียงสูง
3.
เปล่งเสียงพูดหรือเสียงต่ำเกินความจำเป็น
4.
มีอาการพูดผิดปกติ
5.
ไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้
6.
ไม่พูดเมื่อมีสิ่งเร้าใจจากสภาพแวดล้อม
7.
มักตะแคงหูฟังและให้ความสนใจต่อการสั่นสะเทือน
8.
ไม่มีปฏิกิริยาต่อเสียงดัง เสียงพูด เสียงดนตรี

วิธีสอนภาษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
            การฝึกการได้ยิน  คือ  การฝึกให้ใช้การได้ยินที่เหลืออยู่ในการรับรู้เสียง ทิศทาง ความหมายของเสียงพูด เพื่อเรียนรู้และพัฒนาทักษะในการติดต่อสื่อสาร
            การฝึกพูด  คือ  การฝึกให้เด็กพัฒนาภาษาที่เป็นธรรมชาติที่เรียนรู้จากประสบการณ์ มีความหมายเพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพ เพื่อติดต่อกับคนปกติ ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้การได้ยินที่เหลืออยู่ร่วมกับการใช้เครื่องช่วยฟัง โดยการฝึกทักษะที่เกี่ยวข้องคือ การฟัง
            การอ่านคำพูด  จะต้องฝึกและเรียนรู้ตั้งแต่คำแรกที่เรียนภาษา
            การใช้ท่าทาง  คือ  ท่าทางที่เกิดขึ้นมาตามธรรมชาติซึ่งต้องใช้สาายตาในการรับภาษาโดยไม่ต้องใช้เสียงนับเป็นพื้นฐานความเข้าใจ ภาษามือ
            การสะกดนิ้วมือ  คือ  การที่บุคคลทำท่าทางเป็นรูปต่างๆ แทนตัวพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และสัญลักษณ์อื่นๆ ของภาษาประจำเพื่อสื่อภาษา โดยทั่วไปตัวอักษรที่สะกดนิ้วมือของภาษาใดจะมีจำนวนเท่ากับตัวอักษรของภาษานั้น

เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการ ได้ยิน  
เครื่องช่วยฟังมี 2 ระบบ คือ ระบบอนาล็อก กับ ระบบดิจิตอล
1. ระบบอนาล็อก จะขยายเสียงโดยการเพิ่มระดับความดังเพียงอย่างเดียว ตัดเสียงทุ้ม เสียงแหลมได้บ้างเล็กน้อย ไม่สามารถปรับให้เหมาะกับระดับการได้ยินของแต่ละคนได้ (เนื่องจาก ระดับการได้ยินที่ใช้รับฟังเสียงมีตั้งแต่ 125 Hz ขึ้นไป ถึง 8000 Hz และแต่ละความถี่มีระดับการสูญเสียไม่เท่ากัน) ดังนั้น จะพบว่า เมื่อใช้เครื่องระบบอนาล็อก เสียงบางเสียงฟังแล้วดังพอดี บางเสียงจะดังเกินไปจนเกิดความรำคาญ
 2. ระบบดิจิตอล เครื่องช่วยฟังจะรับคลื่นเสียง แปลเป็นสัญญาณดิจิตอล นำไปปรับระดับในแต่ละช่วงความถี่ให้เหมาะสมกับระดับการได้ยินที่สูญเสีย แล้วจึงแปลจากสัญญาณดิจิตอล เป็นคลื่นเสียงให้ผู้ใช้ได้ยินอย่างนุ่มนวล ฟังชัดเจน

ประเภทของเครื่องช่วยฟังมี 4 ประเภทหลักๆ ดังนี้
            1. เครื่องช่วยฟังประเภทกล่อง (Body หรือ Pocket Aid) มีขนาดใกล้เคียงกับกล่องไม้ขีด ต่อสายหูฟัง สำหรับผู้สูญเสียการได้ยินระดับปานกลาง ถึง รุนแรงมาก
2. เครื่องช่วยฟังประเภททัดหลังหู (BTE) มีขนาดเล็กพอจะซ่อนไว้หลังใบหูได้ ไม่มีสายหูฟัง แต่จะมีท่อนำเสียงต่อกับพิมพ์หู สำหรับผู้สูญเสียการได้ยินระดับ ปานกลาง ถึง มาก
3. เครื่องช่วยฟังประเภทใส่ในช่องหู (ITE/ITC) มีขนาดเล็กใส่ในช่องหูได้ สำหรับผู้สูญเสียการได้ยินระดับ เล็กน้อย ถึง มาก
4. เครื่องช่วยฟังประเภทซ่อนในช่องหู (CIC) มีขนาดเล็กกว่าเหรียญบาท ซ่อนในช่องหู ทำให้ยากที่จะเห็นว่า ผู้ใช้ใส่เครื่องช่วยฟังอยู่ สำหรับผู้สูญเสียการได้ยินระดับ เล็กน้อย ถึง ปานกลาง
สรุปวิธีการสอน
ไม่ว่าจะสอนโดยวิธีใดหรือจัดการศึกษาระบบใดก็ตาม ความสมบูรณ์และความถูกต้องไม่ได้อยู่ที่ระบบ แต่หากอยู่ที่การเลือกใช้วิธีการสอนให้เหมาะสมกับความพิการของเด็กแต่ละประเภทว่าเด็กหูหนวกขนาดไหน ควรใช้วิธีสอนประเภทใด จึงจะให้ประโยชน์แก่เด็กมากที่สุด ซึ่งนับเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ทฤษฎีการให้การศึกษาที่ดีนั้นจะต้องยึดหลักว่า "จัดระบบให้เหมาะสมกับเด็ก ไม่ใช่ยัดเยียดหรือบังคับเด็กให้เรียนตามระบบที่จัดให้เท่านั้น"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น